contact
by EK Thongprasert
Life and Decision
Sep 13, 2016




“There are only two ways to live your life. One is as though nothing is a miracle. The other is as though everything is a miracle.”
― Albert Einstein

นวันที่โลกปัจจุบันคือยุคทองแห่งโลกของวิทยาศาสตร์ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนแทบจะวิ่งตามไม่ทัน การติดต่อสื่อสารกับผู้คนอีกซีกโลก  หรือการเดินทางไปยังอวกาศคงไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอีกต่อไป จึงพูดได้ว่าชีวิตประจำวันของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ ได้ถูกหล่อหลอมและเติบโตด้วยหลักการและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไปโดยปริยาย

ถึงแม้กระนั้น ก็ยังมีผู้คนอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนจำนวนไม่น้อยในสังคม ที่ยังคงมีความเชื่อในเรื่องของโชคลาง ไสยศาสตร์ หรือ ดวงชะตา โดยไม่ใช่แค่ในประเทศไทยหรือในทวีปเอเชียเท่านั้น ความเชื่อในเรื่องเหนือวิทยาศาสตร์เหล่านี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มวัฒนธรรมโดยไม่แบ่งแยกชนชาติหรือศาสนาแต่อย่างใด  แล้วอะไรคือความเชื่อที่ถูกหรือผิด  แล้วเราจะสามารถแยกแยะความจริงออกจากความเชื่อได้หรือไม่    หลายครั้งที่มนุษย์เราต้องเผชิญกับปัญหาความผิดหวัง ความสูญเสีย ที่ทำให้เกิดคำถามหนึ่งขึ้นมาในห้วงความคิด ว่าจริงหรือที่ชีวิตจริงของเรานั้นกำหนดได้ด้วยตัวเราเอง ความพยายาม และ เหตุผลต่างๆ ก็ไม่สามารถอธิบายหรือให้คำตอบกับความทุกข์เหล่านั้นได้ ท้ายที่สุดแล้วชีวิตคือเรื่องราวของโชคชะตาที่ถูกกำหนดมาโดยคนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างนั้นหรือ  บทความในตอนนี้จะกล่าวถึงการทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอนาคต ความเชื่อ และการตัดสินใจของมนุษย์ ที่ได้ถูกทดสอบโดยศิลปิน 2 คน ซึ่งมีวิธีการและรูปแบบของการสร้างงาน แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งงานศิลปะของศิลปินทั้งสองนั้น ได้ให้ข้อสรุปของจุดเชื่อมต่อระหว่างความเชื่อ และ การตัดสินใจ ไว้ได้อย่างน่าสนใจ

 

งานศิลปะชิ้นแรกของ โซเฟีย คอล( Sophie Calle) คือบททดสอบและการหาคำตอบ ให้กับคำถามที่ดังอยู่ในตัวเราเหล่านั้น “ Where and When ? ” Berck/Lourdes / Où et quand? Berck/Lourdes” ถูกจัดขึ้นที่ Arndt & Partner gallery กรุงเบอรลินปี 2009   ซึ่งงาน series นี้เปรียบเสมือนสารคดีที่บันทึกเรื่องราวการเดินทางของโซเฟีย ที่ถูกกำหนดโดยคำทำนายของหมอดู

จากจุดเริ่มต้นของโปรเจคโซเฟียได้สุ่มเดินหาผู้คนแปลกหน้าตามท้องถนนในฝรั่งเศส โดยในที่สุดเธอบังเอิญได้พบผู้ที่เป็นหมอดูจากผู้คนมากมายที่เธอบังเอิญเดินผ่าน ซึ่งหมอดูคนดังกล่าวชื่อว่า Maud Kristen โซเฟียตังคำถามกับ Kristen เพียงแค่ว่า เธอควรไป “ ที่ไหนและเมื่อใด”  และต่อมาเธอได้นำคำทำนายที่เธอได้รับมานั้น กำหนดเป็นแผนการเดินทางและแพลนตารางเวลาของการเดินทาง  การเริ่มต้นโปรเจคจากคำทำนายนี้ได้นำเธอไปสู่ จุดหมายแรกของการเดินทาง ที่อยู่ในเมือง Berck ทางตอนแหนือของฝรั่งเศส และจุดหมายที่สอง Louredes ซึ่งเป็นเมื่องแห่งการแสวงบุญในศาสนาคริสต์ การทดลองของโซเฟียคือการรวบรวมข้อมูลของการทดสอบระหว่างความเชื่อในโชคชะตา  กับการตัดสินใจของโซเฟีย โซเฟียเชื่อว่าเธอได้ให้อำนาจการตัดสินใจครั้งนี้ทั้งหมดแก่คำทำนายตามไพ่  และผู้คนที่เธอไม่เคยแม้แต่รู้จักมาก่อน  โดยระหว่างการเดินทาง เธอได้รวบรวมหลักฐานของผู้คนที่เธอได้บังเอิญพบเจอ ระหว่างการนั่งในรถไฟจากเมืองสู่เมือง  ตารางเวลารถ หรือบทสนทนาที่เกิดขึ้นกับผู้คนแปลกหน้า รวมถึงยังได้จดบันทึกไดอารี่ของความรู้สึก ถ่ายภาพของคนที่เธอพบ และรวบรวมของต่างๆที่บังเอิญเก็บได้มาใช้ในงานชิ้นนี้

“ ฉันขอให้ Kristen ทำนายอนาคต เพียงเพื่อที่จะได้เผชิญหน้ากับมันง่ายขึ้น มันคือความรู้สึกแบบเดียวกันกับที่ผู้คนอ่านคำทำนายราศี ตามนิตยสาร หรือแมกกาซีน ฉันว่าสิ่งทั้งหมดที่ผู้คนทำก็เพียงเพื่อแค่ต้องการที่ปรึกษา ที่สามารถจะบอกได้ว่าอะไรคือสิ่งที่มองไม่เห็นที่รออยู่ภายหน้า  เพียงเพื่อที่จะได้ครอบครองความรู้สึกของการควบคุมสิ่งเหล่านั้นได้ เมื่อเวลานั้นมาถึง”

sophie-calle-ou-et-quand-1357766551_b

4253990915_2

งานของศิลปินคนที่สอง คาร์สเทน ฮอลเลอร์(Carlsten Holler) มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดย ฮอลเลอร์ มุ่งประเด็นในงานไปในเรื่องของทางเลือกและการตัดสินใจของมนุษย์  งาน“ Decision “ ได้ถูกจัดแสดงที่ Southbank centre กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปลายปี 2015 ในรูปแบบที่คล้ายสวนสนุกหรือเขาวงกต มากกว่าจะเป็นแกลลอรี่ที่จัดวาง sculpture โดยทั่วไป งานของเขาเน้นให้ผู้เข้าชมทุกวัย ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของที่ถูกจัดวางอยู่ราวกับเครื่องเล่น การเล่นกับประสาทสัมผัสของผู้เข้าชมเช่นการเลือกใช้สีสด วัสดุนิ่ม หรือการสุ่มวางงานให้เกิดความตื่นเต้นและคาดการณ์ไม่ได้ ภายในงานของเขามีสไลเดอร์ขนาดใหญ่เท่าตึก3ชั้น ที่ม้วนเป็นวงกลมลงมาให้คนลอดผ่าน เครื่องเป่าลมขนาดยักษ์ หรืองูเหลือมสีชมพูขนาดใหญ่ โดยทั้งหมดนี้เพื่อต้องการที่จะกระตุ้นการตัดสินใจและปฎิสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วมชมงาน ฮอลเลอร์ ต้องการให้นิทรรศการของเขาไม่มีทางเข้า ทางออก หรือลำดับ 123 ตายตัว เขาเพียงแค่ต้องการนำเสนอทางเลือกต่างๆให้ได้มากที่สุด แต่จุดสุดท้ายไม่ว่าใครจะเลือกทางใด คำตอบทั้งหมดไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าอะไรผิดหรือถูก มีแค่ความพึงพอใจเฉพาะบุคคลเป็นเพียงคำตอบเท่านั้น

Holler

Carsten Holler at the Hayward Gallery in London.  Photo by Linda Nylind. 6/6/2015.

เมื่อย้อนกลับมาดูเรื่องความเชื่อในสังคมไทย เราจะพบว่าความเชื่อเรื่องโชคลางและไสยศาสตร์ได้ฝังรากลึกในคนทุกระดับ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทำธุรกิจ เสี่ยงโชค หรือแม้แต่การใส่เสื้อสีนำโชค  ไม่ว่าคุณจะมีความเชื่อในเรื่องราวเหล่านี้อย่างไรอาจไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณเลือกลงมือทำอะไรในท้ายที่สุด Curated จึงลองนำเรื่องราวของการทำนายโชคชะตาของบริษัทมาเป็นบททดลอง เพื่อหานิยามใหม่ของความเชื่อในการออกแบบสำหรับคอลเลคชันหน้าในลำดับที่ 13 ของแบรนด์

Share

Copyright © EK Thongprasert 2014 | Web by ::*